เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า นรชน ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด
สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์
คำว่า ในความถือมั่นเหล่านั้น ได้แก่ ในความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิเหล่านั้น
รวมความว่า เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชน

ว่าด้วยการสลัดทิ้ง 2 อย่าง
คำว่า ย่อมสลัดทิ้ง ในคำว่า ย่อมสลัดทิ้งธรรมบ้าง ยึดถือธรรมไว้บ้าง
ได้แก่ ย่อมสลัดทิ้ง เพราะเหตุ 2 อย่าง คือ (1) สลัดทิ้งด้วยการตัดสินของผู้อื่น
(2) เมื่อไม่สำเร็จประโยชน์เองก็สลัดทิ้งเสีย
นรชนสลัดทิ้งด้วยการตัดสินของผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ ผู้อื่นตัดสินว่า ศาสดานั้น ไม่ใช่สัพพัญญู ธรรมมิใช่ธรรมที่ศาสดากล่าว
สอนไว้ดีแล้ว หมู่คณะมิใช่ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐิมิใช่สิ่งที่เจริญ ปฏิปทามิใช่ศาสดา
บัญญัติไว้ดีแล้ว มรรคมิใช่ทางนำออกไปจากทุกข์ ความหมดจด ความสะอาด
ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ในทิฏฐินี้ไม่มี ในทิฏฐินี้
สัตว์ทั้งหลายย่อมหมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หรือหลุดพ้นไป ไม่มี
ทิฏฐินี้ เลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า เล็กน้อย ผู้อื่นย่อมตัดสินอย่างนี้
นรชนที่ถูกตัดสินอย่างนี้ ก็สลัดทิ้งศาสดา สลัดทิ้งธรรมที่ศาสดากล่าวสอน สลัด
ทิ้งหมู่คณะ สลัดทิ้งทิฏฐิ สลัดทิ้งปฏิปทา สลัดทิ้งมรรค นรชนชื่อว่าสลัดทิ้งด้วย
การตัดสินของผู้อื่นเป็นอย่างนี้
นรชนเมื่อไม่สำเร็จประโยชน์เองก็สลัดทิ้ง เป็นอย่างไร
คือ นรชนเมื่อไม่ทำศีลให้สำเร็จประโยชน์ก็สลัดทิ้งศีล เมื่อไม่ทำวัตรให้สำเร็จ
ประโยชน์ก็สลัดทิ้งวัตร เมื่อไม่ทำศีลวัตรให้สำเร็จประโยชน์ก็สลัดทิ้งศีลวัตร นรชน
ชื่อว่า เมื่อไม่สำเร็จประโยชน์เองก็สลัดทิ้ง เป็นอย่างนี้
คำว่า ยึดถือธรรมไว้บ้าง อธิบายว่า นรชนถือ ยึดมั่น ถือมั่น
ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา และมรรคไว้บ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :91 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
รวมความว่า นรชนย่อมสลัดทิ้งธรรมบ้าง ยึดถือธรรมไว้บ้าง ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ มิใช่ก้าวล่วงได้ง่ายๆ
การปลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
ก็มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น
นรชนย่อมสลัดทิ้งธรรมบ้าง ยึดถือธรรมไว้บ้าง
[21] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ทิฏฐิที่กำหนด(เพื่อเกิด)ในภพน้อยภพใหญ่
ของผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ไม่มีในที่ไหน ๆ ในโลก
เพราะผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้น ละความหลอกลวง
และความถือตัวได้แล้ว ไม่มีความถือมั่น
จะพึงไปด้วยเหตุอะไรเล่า

ว่าด้วยปัญญาเครื่องกำจัด
คำว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ในคำว่า ทิฏฐิที่กำหนด(เพื่อเกิด)ในภพน้อย
ภพใหญ่ ของผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ไม่มีในที่ไหน ๆ ในโลก อธิบายว่า ปัญญา
ตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกเฟ้น
ความสอดส่องธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนด
เฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ความค้นคิด
ความใคร่ครวญ ปัญญาดุจแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง
ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้ดี ปัญญาดุจปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ปัญญาดุจศัสตรา ปัญญาดุจปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาดุจดวงประทีป ปัญญาดุจดวงแก้ว ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ
เพราะเหตุไร ปัญญาจึงตรัสเรียกว่า เครื่องกำจัด เพราะปัญญานั้นเป็นเครื่อง
กำจัด ชำระ ล้าง และซักฟอกกายทุจริต ... วจีทุจริต ... มโนทุจริต ... เพราะ
ปัญญานั้นเป็นเครื่องกำจัด ชำระ ล้างและซักฟอกราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... โกธะ ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :92 }